ตะแบก (Lagerstroemia floribunda Jack)

ตะแบก

Lagerstroemia floribunda Jack

ชื่อไทย : ตะแบก
ชื่ออื่น ๆ: กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack

ไม้ต้น ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โคนต้นเป็นพูพอนสูง เปลือกต้นเรียบเป็นมันสีเทาหรือสีเทาอ่อนอมขาว มีแผลเป็นหลุมตื้น ๆ ตลอดลำต้น

ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก รูปไข่สีน้ำตาล เเตกเป็น 5-6 พู เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีปีก

ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ชอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา ใบเเก่เกลี้ยง ใบอ่อนสีชมพูหรือแดง มีขนสั้น

ดอก (Flower) : สีชมพูอ่อนหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อเเยกแขนงตามซอกใบปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านช่อดอก และดอกตูมมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม กลีบเลี้ยงมี 10-12 สัน ปลายแยก 5-6 กลีบ มีขนสีน้ำตาลด้านนอกและปลายกลีบด้านใน กลีบดอก 6 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร

ประโยชน์: รากเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ มีไข่เปลือกชงดื่มแก้ท้องร่วง แก้พิษพบที่พม่า จีนตอนใต้ และภาคเหนือของไทยที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบเขา ความสูง 1400-1900 เมตร คล้ายกับว่านไก่แดงชนิด A. persimilis Craib และว่านไก่แดงน้อย A. humilis Hemsl. ที่กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคน กลีบดอกด้านล่างไม่พับงอกลับชัดเจน แต่ทั้งสองชนิดต่างกันที่หลอดกลีบดอกด้านในช่วงโคนมีขนเหนียวหนาแน่นหรือไม่มีตามลำดับ