เสือโคร่งอินโดจีน (อังกฤษ: Indochinese tiger, Corbett's tiger)

เสือโคร่ง

Indro-chinese tiger

ชื่อไทย : เสือโคร่ง
ชื่อชื่ออังกฤษ : Indro-chinese tiger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera tigis corbetti Mazak

ลักษณะ : สัตว์ป่าที่มีความสง่างาม และความลึกลับของวิถีการดำรงชีวิตที่น่าเกรงขาม คนส่วนใหญ่ยังอาจไม่เข้าใจถึงภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของเสือโคร่ง อาจเพราะเรามักพบเสือดคร่งตามสวนสัตว์ หรือสถานที่เพาะเลี้ยง ซึ่งในความเป็นจริง เสือโคร่งที่อยู่ในป่าธรรมชาติ อย่างเช่นห้วยขาแข้ง ซึ่งมีพื้นที่ 2,574 ตารางกิโลเมตร มีเสือโคร่งเพียง 30 ตัว แต่บางสถานที่เพาะเลี้ยงกลับมีเสือโคร่งในกรงแคบ มากกว่าในป่าธรรมชาติอีก มีกำลังมากและแข็งแรง อุ้งเท้าใหญ่ เล็บแหลมคม หูมีลักษณะกลม ตั้งและมีขอบสีดำ ตรงกลางเป้นสีขาว ตาสีเหลืองทอง มีขนยาวสีขาวบริเวณใบหน้าและแก้ม โดยขนบริเวณนี้ในตัวผู้จะยาวมากกว่าตัวเมีย ลำตัวสีเข้มแดงหรือเหลืองทองมีแถบดำพาดผ่านเช่นเดียวกับบริเวณลำตัว จึงทำให้ดูเป็นปล้องๆ

การกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย

สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์ (IUCN 3.1)

เสือโคร่งมีอาณาเขตในการหาอาหารกว้างใหญ่ มักชอบอาศัยในป่าใกล้แหล่งน้ำ และมีอาหารสมบูรณ์ มักหาอาหารโดยลำพัง ยกเว้นในช่วงที่ตัวเมีย มีลูกอ่อนซึ่งตัวผู้จะช่วยดูแลลูกและช่วยหาอาหาร อาหารที่ชอบมักเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วัวป่า ความยป่า กวาง กระทิง แต่พบว่า เสือโคร่งชอบล่าเก้งเป็นอาหารมากที่สุด เสือโคร่งมักกินเหยื่อบริเวณ ตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วกลับมากินใหม่จนหมด นอกจากนี้เสือโคร่งอาจจะกินลูกเสือโคร่งเองที่ยังเล็กเป็นอาหารอีกด้วย เสือโคร่งมักหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน ว่ายน้ำเก่งมาก มีอาณาเขตพื้นที่ครอบครองกว้างขวาง โดยเฉพาะเสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะรับรู้ถึงความต้องการของตัวเมีย จากเสียงร้องถี่ๆ ปกติเสือจะหลีกเลี่ยงจากการปะทะต่อสู้กัน เพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานหรือบาดเจ็บ เสือโคร่งตัวผู้เมื่อผสมพันธุ์กับตัวเมียแล้วจะแยกไป และอาจผสมกับตัวเมียตัวอื่นได้อีก เสือตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลุกครั้งละ 1 - 7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่ยังไม่ลืมตา ตัวที่ไม่แข็งแรงจะตายไปก่อน ลูกเสือที่รอดจะถูกแม่เสือฝึกให้หาอาหาร และล่าเหยื่อในธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตด้วยตัวเอง ในอนาคต เมื่อลูกเสือสามารถหาเหยื่อได้ด้วยตัวเองแล้ว แม่เสือจะแยกตัวออกไป แต่มีบางครั้งที่ลูกเสือโคร่งมักตายหลังจากแยกตัวออกมาอยุ่ตามลำพัง เนื่องจากการต่อสู้กับเสือโคร่งตัวอื่นที่โตเต็มวัย