ค่างแว่นถิ่นใต้ (Dusky langur หรือ Spectacled langur)

ค่างแว่นถิ่นใต้

Dusky langur

ชื่อไทย : ค่างแว่นถิ่นใต้
ชื่อชื่ออังกฤษ : Dusky langur หรือ Spectacled langur
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Semnopithecus obscurus Reid

ลักษณะ : ลักษณะเด่นคือ มีวงสีขาวรอบดวงตา ขาและหางมีสีอ่อนกว่าส่วนหลัง ค่างแว่นถิ่นใต้ มีความหลากหลายของสีขนมาก โดยขึ้นกับฤดูกาลและตัวของค่างเอง ส่วนบนจะมีสีเข้มเทาและน้ำตาล ขาและหางสีอ่อนกว่าส่วนอื่น สีขนที่หลังมีสีอ่อนกว่าส่วนข้าง ผิวหนังใต้ขนเป็นสีเทาเข้ม ส่วนวงแหวนสีขาวรอบดวงตาจะเด่นชัดกว่าค่างชนิดอื่น ค่างแว่นที่อายุน้อยจะมีสีขนสีเหลืองทอง

การกระจายพันธุ์ : ค่างแว่นถิ่นใต้พบได้บริเวณตั้งแต่ภาคใต้ของไทย ถึงประเทศมาเลเซียรวมทั้งประเทสไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

สถานภาพ : IUCN (1996) : LR /nt , CITES (1997) : Appendix II

ค่างแว่นถิ่นใต้พบได้ทั่วไปในพื้นที่หลายแบบตั้งแต่ภูเขาสูงจนถึงป่าริมชายฝั่ง และเกาะ ชอบอาศัยในป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ อาหารที่ค่างแว่นชอบคือใบไม้และยอดอ่อนโดยจะกินมากถึงประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อวัน นอกจากนี้อาจกินแมลงเป็นอาหารในบางครั้ง ค่างชนิดนี้ไม่ชินกับมนุษย์ ขี้อาย และมักหนีเมื่อถูกมนุษย์รบกวน ค่างที่มีอายุมากกว่าจะนอนบนกิ่งไม้เพื่อระวังอันตราย โดยทั่วไปค่างแว่น จะส่งเสียงได้หลากหลาย มีระบบการส่งเสียงค่อนข้างซับซ้อน ค่างเพศเมียมีระยะการเป็นสัดนาน 3 อาทิตย์ และออกลูกในช่วงเดือนมกราคมถึงและมีนาคม มีระยะเวลาในการให้นม ประมาณ 140 - 150 วัน

ข้อมูลจาก : Wildlife in Thailand's Transborder Trade