ลิงแสม : Crab-eating macaque, Macaca fascicularis Raffles

ลิงแสม

Crab-eating macaque

ชื่อไทย : ลิงแสม
ชื่อชื่ออังกฤษ : Crab-eating macaque
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca fascicularis Raffles

ลักษณะ : ลิงแสมมีหางยาวใกล้เคียงกับความยาวจากหัวถึงลำตัว ขนมี 2 สี คือ สีเทาน้ำตาลและสีแดง โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย ลิงแสมในป่าจะมีสีเข้มกว่าลิงแสมที่อยู่บริเวณป่าชายเลย ซึ่งมีเกลือในอากาศและสัมผัสกับแสงแดดมากกว่า ลิงชนิดนี้มีหางกลม ขนบริเวณหัวสั้นตั้งชี้ไปด้านหลัง ลิงอายุน้อยหัวจะมีขนเป็นหงอน และจะยืดยาวออกเมื่อมีอายุมากขึ้น

การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทย อินโดนีเซีย พม่า มลายู เกาะสุมาตรา เกาะซูลอน และเกาะมินดาเนา ของฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

สถานภาพ : IUCN (2000) : LR/nt , CITES (1977) : Appendix II

โดยปกติที่วไปลิงแสมชอบอาศัยอยู่ในป่าชายเลน แต่บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ 2,000 เมตร หรือพื้นที่เกษตรกรรมด้วยซึ่งมันมักจะทำลายผลิตผลทางการเกษตร ลิงแสมพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกของป่า มากกว่าอยู่ในป่าลึก และสามารถปรับตัวในเข้ากับมนุษย์ได้ในบางโอกาส ในประเทศไทยลิงแสมสามารถเรียนรู้การกินอยู่บริเวณป่าชายเลนได้ จนมีรายงานการพบลิงแสมว่ายน้ำและดำน้ำลึกประมาณ 50 เมตร ลิงแสมอาศัยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่มากกว่า 100 ตัว เวลาหากินชอบล้วงมือเข้าไปสำรวจอาหารตามรู ลักษณะดังกล่าว จึงเป็นช่องทางให้มนุษย์สามารถจับลิงแสม ได้โดยวางกับดักไว้ในรูเมื่อต้องการดักจับ ลิงแสมเป็นสัตว์ที่ฝึกได้และสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว ถ้านำมาฝึกตั้งแต่ยังเล็ก

ข้อมูลจาก : Wildlife in Thailand's Transborder Trade