
ละอง ละมั่ง
Brow-antlered deer
ชื่อไทย : ละอง ละมั่ง
ชื่อชื่ออังกฤษ : Brow-antlered deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panolia eldii
ลักษณะ : ละองมีขนหยาบ และยาวสีน้ำตาลแดงในฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนจะมีขนสีอ่อนลง และสั้นกว่า ละองมีอายุน้อย มีขนยาว หนาบริเวณแผงคอ ลูกละองจะมีจุดขาวกระจายรอบตัว ซึ่งจะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น หู ตา และคางของละองมีสีขาว ส่วนหัวมีเขายาวแผ่กิ่งก้าน
การกระจายพันธุ์ : พบกระจายพันธุ์ใน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
สถานภาพ : IUCN (1996) : Vulnerable , CITES (1995) : Appendix I
ละองอาศัยในพื้นที่หลากหลายตั้งแต่ป่าพรุ ป่าแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง แต่มักพบในบริเวณป่าที่โล่ง และโปร่ง เนื่องจากละองมีเขาขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ได้หากอยู่ในป่าที่รกมาก บางครั้งอาจพบละองนอนเกลือกปลักโคลน ปัญหาสำคัญของละองที่ทำให้จำนวนลดลงอย่างมากคือ การถูกล่า และที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ในอดีตละองมักอยู่อาศัยรวมกันเป็นฝูง จำนวนมากกว่า 50 ตัว ในช่วงแดดร้อนในกลางวันมักจะหาที่หลบใต้ร่มไม้ อาหารที่ชอบคือ ผลไม้ป่า ฤดูผสมพันธุ์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ถึงเมษายน ระยะเวลาอุ้มท้อง 8 เดือน