หมีขอ หรือ บนตุรง หรือ หมีกระรอก (อังกฤษ: Binturong, Bearcat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Arctictis binturong; อีสาน: เหง็นหางขอ, เหง็นหมี)

หมีขอ , บินตุรง

Binturong

ชื่อไทย : หมีขอ , บินตุรง
ชื่อชื่ออังกฤษ : Binturong
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arctictis binturong Raffles

ลักษณะ : เป็นสัตว์ในกลุ่มชะมดและอีเห็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หน้าตาคล้ายหมี ขนยาวสีดำหยาบ หางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอกทำให้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมีกระรอก หางสามารถยึดเกี่ยวกับต้นไม้ได้ หูกลม ขนหลังหูค่อนข้างยาว บางตัวมีขนสีขาวที่หน้า ขนที่หัวสีเทา ขนตามลำตัวสีดำ ค่อนข้างยาวและหยาบ นิ้วสั้นโค้ง ตัวเมียมีนม 2 คู่

การกระจายพันธุ์ : มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ภูฐาน อินเดีย และพม่า

สถานภาพ : CITES (1991) : Appendix III

มักพบในป่าดิบอาศัยตามลำพัง หากินในเวลากลางคืน บางครั้งจะอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ในตอนกลางวันจะอาศัยหลับนอนในโพรงไม้ หางที่ยาวของหมีชนิดนี้สามารถเกาะเกี่ยวจับกิ่งไม้ เพื่อการเดินทางระหว่างต้นไม้ อาหารของหมีขอมักจะเป็นผลไม้และสัตว์เลื้อยคลาน สามารถปีนขึ้นต้นไม้ได้ดี และว่ายน้ำได้ ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 1 – 3 ตัว ระยะเวลาในการอุ้มท้อง นาน 92 วัน ลูกบินตุรงที่เกิดใหม่จะยังสามารถใช้หางในการเกาะยึดกิ่งไม้ได้ นอกจากนั้น บินตุรงจะมีการสร้างฮอร์โมนจาก Perineal grand เพื่อทำเครื่องหมายแสดงอาณาเขตของตน

ข้อมูลจาก : Wildlife in Thailand's Transborder Trade