วัวแดง(วัวเพาะ หรือ วัวดำ)/Banteng (Bos javanicus)

วัวแดง

Banteng

ชื่อไทย : วัวแดง
ชื่อชื่ออังกฤษ : Banteng
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bos javanicus d' Alton

ลักษณะ : วัวแดงมีลักษณะคล้ายวัวบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่า รูปร่างปราดเปรียวกว่า มีผิวหนังย่นใต้คอ เรียกว่า "พืม" ขนลำตัวมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเด่นคือมีขนสีขาวเป็นวงรอบตา รอบปาก รอบจมูก และวงก้นขาทั้ง 4 ข้าง มีสรขาวคล้ายถุงเท้า วัวแดงตัวผู้มีสีคล้ำเข้มบริเวณไหล่และลำคอ ตัวผู้มีอายุมาก ๆ บางตัวอาจมีสีน้ำตาลดำ วัวแดงตัวเมียมีวงเขาแคบ กว่าวงเขาตัวผู้ ขนาดของวัวแดงตัวเมียเล็กกว่าวัวแดงตัวผู้

การกระจายพันธุ์ : มีการกระจายพันธุ์ใน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เกาะชวา และเกาะบอร์เนียว

สถานภาพ : IUCN (2000) : Endangered

วัวแดงมักอาศัยในป่าโปร่งไม่รกทึบ ชอบวนเวียนอยู่ไม่ไกลจากทุ่งหญ้า ป่าเบจพรรณ หรือป่าเต็งรัง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูกเล็ก ๆ ตัวเมียที่มีอายุมากที่สุดเป็นผู้นำฝูงออกหากิน ตัวผู้ที่แข็งแรงทำหน้าที่จ่าฝูง ในช่วงฤดูฝน วัวแดงเดินทางหากินวันละประมาณ 10 - 15 กิโลเมตร และจะกินอาหารเร็วมาก โดยจะเก็บไว้ในกระเพาะพักก่อน เมื่อหยุดพักผ่อนก็จะสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพฤติกรรมการกินนี้เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ในกรณีมีศัตรู เช่น เสือโคร่ง หมาไน เข้ามาใกล้ ๆ จะตกใจและวิ่งหนีอย่างรวดเร็ว ใช้ประสาทรับกลิ่นเป็นหลัก

ข้อมูลจาก : Wildlife in Thailand's Transborder Trade