Elephas maximus sumatranusช้างเอเชีย (Asian Elephant)

ช้างเอเชีย

Asian elephant

ชื่อไทย : ช้างเอเชีย
ชื่อชื่ออังกฤษ : Asian elephant / Indian elephant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephant maximus Linaeus

ลักษณะ : เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์จำแนกช้างตามลักษณะรูปร่างได้ 2 ชนิด คือ ช้างเอเซีย (Elephas maximus) และช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) ช้างในประเทศไทยเป็นช้างเอเซียทั้งสิ้น ช้างเอเชีย มีขนาดความสูงประมาณ 2.40-2.80 เมตร (วัดจากหัวไหล่มาถึงพื้นขาหน้า) น้ำหนัก 2500 - 4000 กิโลกรัม หัวมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นลอนสองลอน กระโหลกใหญ่ ใบหูเป็นแผ่นกว้าง ขอบใบหูด้านบนม้วนเป็นขอบหนา อยู่ต่ำกว่าหัวช้าง ปลายงวงมีจะงอยเดียว สันหลังโค้ง เท้าหน้ามีเล็บข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังมีเล็บ 3-4 เล็บ ตัวผู้เรียกว่าช้างพลายซึ่งจะมีงายาว ส่วนช้างตัวผู้ที่มีงาเล็ก สั้น หรือไม่มีงาเลย เรียกว่าช้างสีดอ ตัวเมียเรียกว่าช้างพัง มักไม่มีงา บางตัวมีงาเล็ก ๆ สั้น ๆ เรียกว่าขนาย

"งาช้าง" เป็นฟันหน้าบนที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปตามกาล ช้างใช้งาในการต่อสู้ป้องกันตัว โดยใช้งา ตี แทง ยามปกติใช้งาแทงเปลือกไม้ลอกออกมากิน เป็นอาหาร บางครั้งใช้ขุดดินโป่ง

"งวงช้าง" ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ งวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ หลายพันมัด ไม่มีกระดูกแต่แข็งแรงที่สุด ช้างใช้งวงทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย ใช้หายใจ ใช้ดูดน้ำพ่นเข้าปาก และพ่นน้ำใส่ตัวเมื่ออากาศร้อน ใช้งวงเป็นมือหยิบจับอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างดี ใช้ดมกลิ่น ใช้ในการติดต่อสื่อสารสัมผัสร่างกายช้างตัวอื่น ๆ เมื่อมาพบกัน ช้างสามารถใช้งวงหยิบของตั้งแต่เล็กสุดเท่าเหรียญบาทไปจนถึง ท่อนซุงขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวในการต่อสู้กัน ช้างจะใช้งวงในการฟาดตีคู่ต่อสู้ได้อย่างรุนแรง ช้างงามักจะแพ้ช้างสีดอ ซึ่งมีแต่งวงเป็นอาวุธ โดยช้างสีดอจะใช้งวงจับงาของคู่ต่อสู้และโยกคลอนอย่างรุนแรง ช้างงาจะเจ็บปวดมาก ลูกช้างตัวเล็ก ๆ ชอบเอางวงมาดูดเหมือนเด็กที่ชอบดูดนิ้วมือ

"พื้นเท้าช้าง" จะแผ่กว้าง หนาและแข็งแรง แต่ไม่แข็งกระด้าง พื้นฝ่าเท้าอาจหนาถึง 2 เซนติเมตร และมีรอยหยักเว้าลึกคล้ายดอกยางรถยนต์ ทำให้ไม่ลื่นเมื่อเดินบนพื้นที่เปียกชื้น( เคยมีคำถามว่า ช้างเหยียบไข่ไก่ไม่แตก จริงหรือไม่…เนื่องจากบางคนมีความเชื่อว่า กลางอุ้งเท้าช้างนุ่มและเว้าลึกเข้าไป ซึ่ง เสียงที่ได้ยินเวลาอยู่ในป่า มักจะเป็นเสียงช้างพับหูและเสียงหักกิ่งไม้เอาลงมากินเป็นอาหาร มากกว่าที่จะได้ยินเสียงฝีเท้าช้าง

"ช้างโตเต็มวัย" จะนอนวันละ 1-3 ชั่วโมง ในช่วงใกล้สว่าง โดยจะล้มตัวลงนอนตะแคงข้าง ช้างบางตัวนอนกรนเสียงดังได้ยินไกลเป็นกิโลเมตร โดยเฉพาะในเวลาดึกเงียบสงัด ลูกช้างจะนอนบ่อยกว่า อาจล้มตัวลงนอนทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง และนอนนาน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ช้างจะนอนน้อยลง ฟันของช้างเอเซีย จะเป็นแผงใหญ่ ยาว 10-12 นิ้ว กว้าง 3-4 นิ้ว ลึกลงไปในกระดูกกราม 10-12 นิ้ว จะเป็นแผงใหญ่ไม่แบ่งเป็นซี่เหมือนสัตว์อื่น ๆ เป็นฟันบน 2 แผง ฟันล่าง 2 แผง มีการงอกเลื่อนขึ้นมาเรื่อย ๆ จากทางด้านใน เมื่อใช้ฟันเคี้ยวอาหารไปเรื่อย ๆ ฟันทั้ง 4 แผงจะค่อย ๆ สึกไป เมื่อฟันสึกไปหมดทุกแผงแล้วจะไม่มีฟันขึ้นมาใหม่อีก ช้างชราจึงเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เพราะฟันไม่ดี ทำให้ใบไม้ใบหญ้าที่ถูกกลืนเข้าไปอย่างไรก็จะถูกขับถ่ายออกมาอย่างนั้น เมื่อพิจารณาดูกองมูลช้าง ดูความหยาบความละเอียดของใบไม้หรือเปลือกไม้ที่ถูกเคี้ยว จึงพอจะบอกได้ว่าช้างตัวนั้นเป็นช้างหนุ่ม หรือช้างแก่ และเมื่อการบดย่อยอาหารโดยฟันเสื่อมประสิทธิภาพไป ทำให้ช้างได้รับสารอาหารน้อยลง สุขภาพจะเสื่อมโทรมลงและตายในที่สุด ช้างอายุ 55-70 ปี อาจจะเหลือแผงฟันในปากแค่ 2-3 แผง บางแผงสึกกร่อนไปเหลือแค่ 3-4 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ลึกเพียง 2-3 นิ้ว ช้างมีอายุพอ ๆ กับมนุษย์ซึ่งแต่ในแต่ละช่วงอายุ พอจะเปรียบเทียบกับวัยของมนุษย์ได้ดังนี้

"ช้างพังในวัยเจริญพันธุ์" มีช่วงอายุอยู่ระหว่างประมาณ 15-40 ปี ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีไม่เป็นฤดูกาล ใช้เวลาอุ้มท้อง 21-22 เดือน คลอดลูกครั้งละ 1 ตัว(ลูกแฝด 2 ตัว เคยมีแต่พบได้น้อยมาก) ลูกช้างแรกเกิด มีน้ำหนัก 75 - 100 กิโลกรัม มีความสูงที่หัวไหล่ประมาณ 80-90 ซม. ลูกช้างกินนมแม่อย่างเดียวจนอายุได้ 4-6 เดือน จึงเริ่มหัดกินพืชและอาหารอื่น ๆ ลูกช้างจะอยู่กับแม่จนอายุ 3-4 ปีจึงจะอดนม ดังนั้น แม่ช้างในวัยเจริญพันธุ์ จะให้กำเนิดลูก ช้าง 1 ตัวใช้เวลา 5-6 ปี

การกระจายพันธุ์ : ช้าง สายพันธุ์เอเซีย มีกระจายอยู่ทั่วไปในป่าแถบทวีปเอเซีย ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรช้างโดยรวมประมาณ 40,000 ตัว นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับอดีตที่เคยมีช้างสายพันธุ์เอเซีย อยู่อย่างหนาแน่นในพื้นที่ดังกล่าว ในประเทศไทย จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ พบว่านับถอยหลังไปประมาณ 10 ทศวรรษ เคยมีช้างสายพันธุ์เอเซียอาศัยอยู่นับแสนตัว ในบางช่วงของประวัติศาสตร์ยังเคยบันทึกว่า จำนวนช้าง มากกว่าจำนวนพลเมืองที่เป็นชายฉกรรจ์ แสดงว่าพื้นที่ในประเทศไทยนี้ เหมาะแก่การดำรงชีพของช้างมาก ปัจจุบัน จากการสำรวจโดยทีมงานกองทุนสัตว์ป่าโลก ในหนังสือแผนปฏิบัติการ เพื่อการอนุรักษ์ช้างเอเซีย ในประเทศไทย(พ.ศ. 2542-2544) พบว่า