งูเหลือม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Malayopython reticulatus)

งูเหลือม

Reticulaed Python

ชื่อไทย : งูเหลือม
ชื่อชื่ออังกฤษ : Reticulaed Python
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malayopython reticulatus

ลักษณะ : ปากมีขนาดใหญ่และฟันแหลมคม ขากรรไกรแข็งแรงมากและสามารถถอดขากรรไกรในการกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้[5] เกล็ดบริเวณลำตัวตั้งแต่ปลายหัวจรดปลายหางมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล พื้นของตัวสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี ที่บริเวณส่วนหัวมีเส้นสีดำขนาดเล็กเรียวยาว เรียกว่า "ศรดำ" จนเกือบถึงปลายปาก หัวเด่นแยกออกจากคออย่างชัดเจน ปลายหางยาวแหลม เกล็ดเรียบเรียงเป็นแถวได้ระหว่าง 69 ถึง 74 แถวที่บริเวณกลางลำตัว เกล็ดทวารเป็นแผ่นเดี่ยว

การกระจายพันธุ์ : พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่หมู่เกาะนิโคบาร์ , พม่า, ไทย, ลาว และกัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี, เกาะชวา, เกาะลูซอน และหลายหมู่เกาะในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

จัดในอยู่ประเภทงูไม่มีพิษ เลื้อยช้า ๆ และอาจดุตามสัญชาตญาณเมื่อมีศัตรู ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิดโดยมักดักซุ่มรอเหยื่อบนต้นไม้ เมื่อได้จังหวะจะทิ้งตัวลงมารัดเหยื่อยจนขาดอากาศหายใจ มีสีและลายกลืนไปกับธรรมชาติ สืบพันธุ์คล้ายงูหลาม (Python bivittatus) แต่มีระยะฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นกหรือหนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางเช่น เก้ง, กวาง, สุนัข, กระต่าย, หนู, ไก่, เป็ด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานด้วยกันเองขนาดกลาง เช่น ตัวเงินตัวทอง, ตะกวด จึงมักมีรายงานอยู่เสมอ ๆ ว่าเข้าไปแอบกินสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ในเวลากลางคืน อีกทั้งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย อาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท ชอบอาศัยในที่ชื้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535