งูลายสาบเขียวขวั้นดำ (Green Keelback)

งูลายสาบเขียวขวั้นดำ

Green Keelback

ชื่อไทย : งูลายสาบเขียวขวั้นดำ
ชื่อชื่ออังกฤษ : Green Keelback
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhabdophis nigrocinctus (Blyth, 1856)

อุปนิสัย : หากินอยู่บนพื้นดินในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำและกินสัตว์น้ำ (กบ เขียด) หากินเวลากลางวันและ หลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มพรรณพืชใกล้แหล่งน้ำ

ลักษณะ : งูขนาดตัวปานกลาง (จากปลายปากถึงรูก้น 645 มิลลิเมตร และหางยาว 159 มิลลิเมตร) หัวยาวและส่วนของหัวกว้างกว่าลำคอ ตาใหญ่ ลำตัวสั้น หางค่อนข้างยาวและส่วน ปลายหางเรียว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังและ ทางด้านบนของหางมีสัน เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลำตัวใน ตำแหน่งกึ่งกลางตัวจำนวน 19 เกล็ด เกล็ดท้องจำนวน 159 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจำนวน 88 เกล็ด

ลำตัวมีด้านบนของหัวสีเขียวอมน้ำตาล ด้านข้างของหัวมีแถบสีดำจากด้านล่างของ ตาลงไปที่ขอบปากบน และมีแถบสีดำจากด้านท้ายตาลงไปที่มุมขากรรไกร ส่วนต้นของลำตัว (1/3 ของความยาวลำตัว) สีเขียวอมน้ำตาล และส่วนท้ายของลำตัว (2/3 ของความยาวลำตัว) สี น้ำตาลแดง ใต้คางและคอสีขาว ด้านท้องสีขาวแต่ทางส่วนท้ายเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเทา ใต้หางสี เทาอมดำแต่ขอบด้านนอกสีขาว

งูวัยอ่อนมีสีลำตัวแตกต่างจากของตัวเต็มวัยเล็กน้อย คือ งูวัย อ่อนมีหัวสีน้ำตาล ด้านท้ายทอยสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านหลังสีเขียว และมีขีดสีดำพาดขวางลำตัว เป็นระยะตลอดความยาวลำตัว ส่วนงูวัยรุ่นมีหัวสีน้ำตาล ส่วนต้นของลำตัวสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนท้ายของลำตัวสีน้ำตาล และมีขีดสีดำพาดขวางเป็นระยะซึ่งเป็นได้ชัดเจนทางส่วนต้นของ ลำตัว

การแพร่กระจายและแหล่งที่อยู่ : การแพร่กระจาย จีน เมียนมาร์ ลาว ไทย เวียตนาม กัมพูชา พื้นที่อาศัย ใกล้แหล่งน้ำ