กิ้งก่าแก้ว หรือ Forest Crested Lizard (Calotes emma emma)

กิ้งก่าแก้ว

Forest crested lizard

ชื่อไทย : กิ้งก่าแก้ว
ชื่อชื่ออังกฤษ : Forest crested lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotes emma

ลักษณะ : ลำตัวมีสีได้หลายสี มีสีน้ำตาลออกเขียว น้ำตาลคล้ำ หรือบางครั้งสีน้ำตาลออกแดง ขนาดวัดจากปลายปากถึงก้น 85 – 98 มม.หางยาว 240 – 243 มม.ขนาดกลาง ลำตัวยาว หางยาวมากกว่าสองเท่าของความยาวหัวกับลำตัว บนหัวมีเกล็ดขนาดใหญ่ เรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบเกล็ดลำตัวมีปลายชี้ไปทางด้านหลังและด้านบน สันหลังมี เกล็ดเป็นหนามแหลมพาดยาวตลอดไปจนถึงโคนหาง ขาและนิ้วค่อนข้างยาว โดยเฉพาะ ขาคู่หลังจะยาวกว่าขาคู่หน้ามาก

การกระจายพันธุ์ : จีน อินเดีย เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลย์เชีย ในประเทศไทยพบ ทุกภาคของประเทศ

พบในป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าปลูก พื้นที่อาศัย ค่อนข้างจำกัดแหล่งอาศัยในพื้นที่ป่า แต่ปรับตัวอาศัยอยู่ในป่าปลูกฯ ได้ หากินในเวลากลางวันและอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ แต่เดินหากินอยู่ตามพื้นล่างของป่า ด้วย เพราะตกในหลุม (ถัง) ดักที่ทำไว้บนพื้นล่างของป่าบ่อยครั้ง ในช่วงเวลาเช้าจะเกาะอยู่บนลำ ต้นหรือบนกิ่งของต้นไม้ในที่เด่นหรือบางครั้งพบเกาะอยู่บนหญ้าเพ็กเพื่อรับแสงอาทิตย์ เมื่อถูกรบกวนมักอ้าปากเพื่อใช้ข่มขู่ ช่วงเวลาผสมพันธุ์ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพบเพศเมียที่มีไข่ในเดือนปลายพฤษภาคม-ต้นกรกฎาคม และพบขุดดินเพื่อวางไข่ตามแนวเส้นทางกันไฟในป่าเต็งรังในเดือนปลายพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ขึ้นกับความชื้นของพื้นดินด้วย