ตะกวด แลน – Varanus bengalensis

ตะกวด

Bengal Monitor

ชื่อไทย : ตะกวด, จะกวด หรือ จังกวด
ชื่อชื่ออังกฤษ : Bengal Monitor
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Varanus bengalensis

ลักษณะ : มีรูปร่างคล้ายเหี้ย ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ

การกระจายพันธุ์ : อิหร่าน จีน เนปาล อัฟกานิสถาน ศรีลังกา ปากีสถาน อินเดีย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียตนาม มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ

สถานภาพ : สัตว์ป่าคุ้มครอง บัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส

ออกหากินเวลากลางวันและค่อนข้างมีกิจกรรมมากในช่วงเช้ากับในช่วงเย็น หากินอยู่บน พื้นดินและเดินช้าพร้อมทั้งแลบลิ้นออกมาเป็นระยะ ลิ้นมีส่วนปลายแยกเป็น 2 แฉกลักษณะ เดียวกับของงู มีลักษณะการเดินที่ลําตัวเอี้ยวไป-มาทางซ้ายและขวา แต่เมื่อถูกรบกวนจะวิ่งหนี ค่อนข้างเร็วโดยยกหางสูงจากพื้นดิน และถ้าหลบหนีเข้าไปในมุมอับจะยกขาหน้าขึ้นมา แกว่งหาง และพ่นลมออกทางจมูกให้เกิดเสียง เพื่อข่มขู่ มีโพรงพักที่ใช้หลับนอนเวลากลางคืนและใช้โพรง เดิมเป็นประจําทุกคืนถ้าไม่ถูกรบกวน อาจเป็นโพรงดินหรือโพรงต้นไม้ระดับพื้นผิวดินหรือโพรง ต้นไม้ที่อยู่สูงขึ้นไปจากพื้นดิน ป่ายปีนต้นไม้ได้ดีและรวมทั้งว่ายน้ําได้ดี ผสมพันธุ์และวางไข่ ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เพราะพบลูกตะกวดในเดือนมีนาคม