ลิงกัง ( Pig-tailed Macaque) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca nemestrina วงศ์ : Cercopithecidae)

ลิงกัง

Pig-tailed Macaque

ชื่อไทย : ลิงกัง
ชื่อชื่ออังกฤษ : Pig-tailed Macaque
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca nemestrina

ลักษณะ : ลิงกังเป็นลิงที่ใหญ่ที่สุดในจำนวน Macaca มีรูปร่างอ้วนสั้น แตกต่างจากลิงชนิดอื่น ตรงที่มีหางสั้น (สั้นกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวหัวรวมลำตัว) สามารถกระดกโค้งขึ้นบนหลังได้ แต่ขณะพักผ่อนมักห้อยหาง ลำตัวมีสีสัน ๒ แบบ คือ ตัวปกคลุมด้วย ขนสั้นสีเทาหรือสีน้ำตาล หน้าค่อนข้างยาว ขนบนหัวสั้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาล และขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนที่แก้มและที่ขมับ จะขึ้นชี้ไปทางหลังและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ขนตรงส่วนใต้ท้องมีสีจางจนเกือบขาว หางค่อนข้างสั้น เรียวแหลมคล้ายหางหมู ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีขนปรกหน้าผากน้อยกว่าลิงตัวผู้

การกระจายพันธุ์ : พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมของอินเดีย, พม่า, ไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา และ เกาะบอร์เนียว สาหรับในประเทศไทย ลิงกัง เป็นลิงที่พบได้ในบางส่วนของภาคกลาง , ภาคเหนือและภาคตะวันตก

สถานภาพ : ไม่มั่นคง (IUCN 3.1)

ลิงเป็นสัตว์สังคม อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ มีตัวผู้เป็นจ่าฝูง มีการแบ่งลำดับชั้นการปกครอง โดยในธรรมชาติพวกชั้นสูงจะหากินในกลุ่ม และมีอานาจเลือกกินอาหารก่อน ส่วนพวกชั้นต่ำ จะหากินไกลออกไป ตัวผู้จะจับคู่ได้กับตัวเมียหลายตัว ตัวผู้จะยอมรับตัวนอกฝูงเฉพาะตัวเมีย และจะขับไล่ตัวผู้ตัวอื่น ลิงในลำดับสูงจะได้รับผลประโยชน์มากเนื่องจากหาอาหารง่าย และมี ความปลอดภัยจากผู้ล่าประสบความสาเร็จในการสืบพันธุ์สูง มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบบริเวณเชิงเขา ชอบเปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย ไม่ค่อยอยู่เป็นที่ บางตัว ออกหากินตัวเดียว ไม่รวมฝูง ชอบลงมาอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่เวลานอนขึ้นไป นอนบนต้นไม้ ชอบส่งเสียงร้องและมักร้องรับกันทั้งฝูง เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ๓ - ๔ ปี ผสม พันธุ์ได้ทุกฤดู ระยะตั้งท้องประมาณ ๕ – ๗ เดือน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว และมีอายุยืนราว ๒๕ ปี ตัวผู้หรือแต่ละตัวอาจผสมพันธุ์กับตัวอื่นได้หลายตัว และไม่อยู่เป็นคู่แน่นอน ลิงกังจัดเป็นลิงที่ มีสมาชิกในฝูงน้อยกว่าลิงชนิดอื่น ๆ คือ มีไม่เกิน ๔o – ๔๕ ตัว